จากนโยบายรัฐพยายามให้เกิดเมืองอัจฉริยะต้นแบบ โดยดึงสามหน่วยงานหลักจับมือ JICA ญี่ปุ่นทำเมืองอัจฉริยะนำร่องเลือก “บางซื่อ”เป็นที่แรกใน กทม. แผนพัฒนาเมืองโดยมีการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม สานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และสานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คลอดแม่บท สอดคล้องกับความต้องการ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค หรือส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่จะเอื้อให้ ภาคเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้ง่ายขึ้น โครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลาง”บางซื่อ”

การพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อเป็นแนวทาง 6 ข้อ ได้แก่
่ สามารถรองรับปริมาณการจราจรเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมขนส่งให้สามารถเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพ
สร้างโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารที่ดีรองรับการดำเนินธุรกิจ
การออกแบบโดยตระหนักถึงการให้ประชาชนใช้งานได้จริง
รักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว โดยมีหน่วยงาน JICA หน่วยงานด้านพลังงานสะอาดจากญี่ปุ่น เสนอให้มีการก่อสร้างทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารสูงรวมถึงอาคารจอดรถบริเวณรอบนอก เชื่อมต่อพื้นที่ทางเดินลอยฟ้า และการใช้รถโดยสารไร้คนขับขนาดเล็กพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่บางซื่อโดยคานึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ได้แก่
การใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solarpower)บริเวณพื้นที่หลังคาของอาคาร สานักงาน
การติดตั้งระบบการผลิตร่วม(Co-generation)หมุนเวียนจากก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า ในระบบ District cooling
การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificialintelligence:AI)เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัด การพลังงาน
เชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว ขยายพื้นที่เชื่อมกับบริเวณสวนจตุจักร
ลดมลภาวะทางเสียงที่เกิดจากการจราจร เช่น กำแพงกันเสียง (Noise barrier) และแผ่นซับ เสียงเพื่อลดมลภาวะทางเสียง เป็นต้น โดยใช้แบบสถานีรถไฟโตเกียว ซึ่งได้รับความร่วมมือกับรถไฟแห่ง ประเทศไทย (รฟท.)บริหารจัดการพื้นที่และรองรับการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ .นอกจากนี้หากโครงการนำร่องที่บางซื่อสำเร็จได้ดี ก็จะขยายสู่เมืองอื่นๆอีก โดยสรุปย่อคือใช้แนวทาง

ตั้งโครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสาร การคมนาคม เช่น บรอดแบนด์ความเร็วสูง, Wi-Fi สาธารณะ, โครงข่าย IoT ปั้มรถไฟฟ้า Solar Cell
พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูล เมืองและบุคคล (City Data Platform) อันเกิดจากรวบรวมข้อมูลในพื้นที่แบบ Real-time ผ่านอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น ข้อมูลจราจร ข้อมูลอาชญากรรม ความปลอดภัย ข้อมูลสิ่งแวดล้อม
กระตุ้นให้วิสาหกิจเริ่มต้นด้านดิจิทัลโดยเป็นเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและ การใช้ทรัพยากร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิด การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองอยู่ดี มีสุข อย่างยั่งยืน” โดยลักษณะการพัฒนาเมือง ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่

เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
ระบบขนส่งและการสื่อสารอัจฉริยะ (Smart Mobility)
พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
ระบบบริหารภาครัฐอัจฉริยะ
พลเมืองอัจฉริยะ
การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)โดยการพัฒนามีแนวคิดปรับกลุ่มเมืองเดิม ให้พัฒนาขึ้น และสร้างเมืองใหม่ ที่พื้นฐานครบแล้วเลย
ใครอยากอ่านข้อมูลตัวเต็มจากเอกสารสาธารณะโดย พุทธมนต์ รตจีน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผน (ด้านการพัฒนาระบบการขนส่ง) สานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ตามลิ้งค์ได้เลยจ้า http://www.otp.go.th/…/2562-10/25621009-Smart%20City.pdf
หากโครงการนี้เกิดขึ้นจริงในเร็ววัน รับรองราคาการลงทุนจะลงที่บางซื่อ แบบเนื้อหอมแน่นอน
……………………………
#OkasAgency#โอกาสเอเจนซี่#ให้โอกาสเราสร้างโอกาสคุณ#ลงทุนแบบยืดหยุ่น#รับผลตอบแทน100% #ลงทุนคอนโด#ลงทุนปล่อยเช่า Website : www.okasagency.com
Line ID : @okasagency หรือ https://lin.ee/dUKUNLy
Email : [email protected]
Tel : 098 261 9797